RSS

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา



ยุคอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893-1991)





กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทยอยู่ถึง 416 ปีกับ 35 วัน (4 มีนาคม พ.ศ. 1893 ถึง 7 เมษายน พ.ศ. 2310) จึงอาจพิจารณาแบ่งเป็นยุคต่างๆ ตามประเด็นที่ต้องการศึกษา สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการปกครองน่าจะแบ่งเป็นสามยุค คือ ยุคต้น ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ถึงพระเจ้าสามพระยา (พ.ศ. 1893-1991) ยุคกลาง ตั้งแต่สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ถึงพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ. 1991-2199) และยุคปลายตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ถึงพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ. 2199-2310)





สำหรับประวัติการตั้งกรุงศรีอยุธยานั้นนักประศษสตร์ก็ยังไม่มีข้อยุติว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นเจ้านายสายใด ทางหนึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อสายพระเจ้าชัยสิริแห่งเมืองชัยปราการ (เชียงราย) ซึ่งอพยพหนีทัพมอญลงมาภาคกลาง-ภาคใต้มีลูกหลานไปครองเมืองต่างๆ ในบริเวณอโยธยา ลพบุรี อู่ทอง สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าสิริชัย แห่งนครสิริธรรมราช และพระมารดาซึ่งเป็นธิดาพระยาตรัยตรึงศ์ ผู้ครองแคว้นอโยธยา ประสูติเมื่อวันจันทร์ขึ้นแปดค่ำ เดือนห้า พ.ศ. 1857 (ปลายรัชการพ่อขุนรามคำแหง) เมื่ออายุได้ 19 ปี โดยอภิเษกสมรสกับธิดาพญาอู่ทอง ผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิดังนั้น เมื่อพระบิดา พระอัยยกา และพระบิดพระชายาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอู่ทองจึงรับมรดำไว้ถึง 3 แคว้น เมื่อย้ายมาสร้างกรุงศรีอยุธยาจึงมีอาณาจักใหญ่โตรองรับ (พระปวโรฬารวิทยา, อ้างแล้ว, น.100-104)





ส่วนนักประวัติศาสตร์อีกลหายท่าเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองเพชรบุรี เมืองสุพรรณบุรีเมืองละโว้ หรือลพบุรี และเมืองอโยธยา (ฝั่งวัดพนัญเชิง) โดยเป็นที่น่าเชื่อว่าจะมีเชื้อสายเจ้าไทยที่ลพบุรีมากกว่า เพราะทรงส่งพระราเมศวรโอรสไปครองลพบุรี และต่อมาเมื่อยอมถวายราชสมบัติต่อพระเจ้าลุง (พระงั่ว ควรเขียนพงั่ว หรือพ่องั่ง คือลูกชายคนที่ห้า) ก็กลับไปครองลพบุรีอีก แสดงว่า เป็นมรดกฝ่ายพระบิดา (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, อ้างแล้ว,น. 116-117)





1. แนวคิดในการจัดการปกครองอาณาจักรอยุธยา





เป็นที่แน่นอนว่า ผู้คนพลเมืองและเจ้านายในราบลุ่มภาคกลาง-ภาคใต้มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมเขมรมากกว่าผู้คนในภาคเหนือตอนบน ตอนล่าง ดังนั้นวัฒนธรรมทางการปกครองก็คงจะรับเอาประเพณี และหลักการต่างๆ มาจากเขมรมาก





นักวิชาการไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า กษัตริย์อยุธยาจะทรงรับลัทธิเทวราชา มาจากเขมร คือเชื่อว่ากษัตริย์เป็นเทพเจ้าที่อวตารมาเป็นผู้ปกครองมนุษย์ โดยมักจะใช้พระนามที่เกี่ยวกับพระอิศวร (ศิวะ) หรือ พระนารายณ์ (พระราม) หรือพระอาทิตย์ (สุริยเทพ) แต่ผู้เขียนเชื่อว่าคนไทยซึ่งนับถือศาสนาพุทธเป็นพื้นไม่น่าจะรับความคิดแบบเทวราชในลักษณะเทวสิทธิราชย์สมบูรณ์ทั้งหมด น่าจะนำมาปรับกับทางพุทธที่ถือว่า กษัตริย์เป็นเพียงเทพโดยสมมติ จึงน่าจะเป็นลัทธิสมมติเทวราชมากกว่า ดังที่พระพุทธจ้าตรัสสอนว่าเทพมี 3 ชนิด คือ อุปัตติเทพ (เกิดเป็นเทวดา) วุสุทธิเทพ (เทพเพราะความบริสุทธิ์ คือ คนธรรมดาที่มีเทวธรรม) และสมมติเทพ (กษัตริย์มีอำนาจบารมีมากเหมือนเทวดา สามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ได้มาก) (ขุ. จู. 30/654/312 : ขุทททก. อ. 135)





นอกจากนี้อาจเป็นได้ว่าเมื่อฝ่ายเขมรเป็นฝ่ายสุริยเทพแล้วฝ่ายอยุธยาจึงถือเป็นฝ่ายพระนารายณ์ (พระราม ผู้ครอกรุงอโยธยา) และอาจเป็นไปตามความนิยมของกษัตริย์ และขุนนางแต่ละสมัยว่าจะถือกษัตริย์ดำรงความเป็นเทพเจ้า หรือสมมติเทพองค์ใด จะเห็นได้จากพระนามกษัตริย์สมัยอยุธยาจะเกี่ยวกับพระราม และชื่อส่วนพระองค์เสียมาก ส่วนจะพาดพิงถึงพระอินทร์ พระนารายณ์มีน้อยกว่ายิ่งพระนามพระมหาธรรมราชา-พระเจ้าทรงธรรมมีน้อย ส่วนพระนามกลางๆ ว่าพระบรมราชาธิราชกลับนำมาใช้บ่อยกว่าอีกนัยหนึ่งพระนามที่เป็นทางการใช้ประกาศในพระสุพรรณบัตรนั้นอาจตั้งไปตามความเห็นของขุนนางราชครูเท่านั้น ส่วนชาวบ้านก็เรียกกันตามพระนามเดิม หรือบุคลิกภาพบาครั้งก็ถือว่ากษัตริย์เป็นพระโพธิ์สัตว์อวตารมาสร้างบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงมีสรรพนามเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าหลายอย่าง





อย่างไรก็ดี เห็นได้ชัดว่ากษัตริย์สมัยอยุธยามีความเป็นเทวดามากขึ้น และอยู่ห่างกับประชาชนยิ่งกว่าสมัยสุโขทัย พร้อมทั้งมีเครื่องกีดกั้นมากขึ้น เช่น





1.กษัตริย์ต้องอยู่สูงสุด ไม่มีใครหรืออะไรจะเทียบได้เวลาเสด็จประทับก็ต้องประทับที่สูง





2.กษัตริย์จะคลุกคลีกับคนธรรมดาไม่ได้ มีกฎมณเฑียรบาลห้ามไว้แข็งแรง





3.กษัตริย์มีภาษของพระองค์ และเจ้านายเองคือราชาศัพท์ ทำให้คนสามัญติดต่อไม่ได้





4.มีกฎมณเฑียรบาล กฎหมายและข้อห้ามต่างๆ เกี่ยวกับกษัตริย์ เช่น ห้ามแตะต้องพระองค์ห้ามเอ่ยพระนาม ห้ามมองพระองค์ ห้ามถามพระอาการประชวร ห้ามทะเลาะวิวาทกันในวัง





5.พระราชวังที่นั่งประทับจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ประเพณีของเทพเจ้า เช่นจะมีเทวสถานในบริเวณพระบรมมหาราชวัง มีภูเขาพระสุเมรุ (ภูเขาทอง) สัญลักษณ์ที่ประทับพระอิศวร





6.ตำแหน่งต่างๆ ของพระมเหสี พระราชวงศ์ ขุนนางก็วางไว้ซ้ายขวาหน้าหลัง หรือประจำทิศหรือมีชื่อตำแหน่งสอดคล้องกับตำแหน่งที่ที่ให้ไว้แก่พระอิศวร





7.พระนาม เครื่องราชกุธภัณฑ์ ของใช้ส่วนพระองค์ พระแสง ฯลฯ ก็มีชื่อพิเศษ





8.มีพิธีการต่างๆ มากมายที่เป็นการถวายพระเกียรติ หรือให้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งคงเพื่อถวายอารักขา แต่ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงความสูงส่งของฐานะ ข้อง 1-4 จากหนังสือของมหาวิทยาลัยสุโขทัย, อ้างแล้ว, น.125-126, ข้อ 5-8 การเปรียบเทียบกษัตริย์กับเทพเจ้าชั้นสูง ทำให้ต้องจัดระบบต่างๆ คล้ายระบบจักรวาลของศาสนาพราหมณ์ (ดูรายละเอียดใน Hein-Geldem, 1942, pp. 15-30)





2. การจัดรูแบบการปกครอง





การจัดการปกครองส่วนกลางและหัวเมือง





จากหลักฐานที่มีอยู่ไม่มากนัก ทราบว่าในยุคต้นการปกครองอาณาจักรอยุธยา คงจะจัดการปกครองที่ส่วนกลางจัดเป็นงาน 4 ด้าน เรียกว่า จตุสดมภ์ (สี่หลัก) คือ เวียง วัง คลัง นา อยู่ 4 กรม ซึ่งเป็นการแบ่งอย่างอินเดียเพราะประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็แบบนี้ ซึ่งเป็นไปตามระบบจักรวาลของพราหมณ์ที่มีเทวดารักษาทั้งสี่ทิศ ทั้งสอดคล้องกับการกำหนดหัวเมืองหน้าด่านไว้สี่ทิศด้วย





การปกครองหัวเมืองในสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งราชอาณาเขตยังไม่กว้างขวางนัก น่าจะเป็นการให้ขุนนางไปปกครองเมืองเล็กๆ รอบราชธานี และขึ้นตรงต่อเจ้ากรมในราชธานี ส่วนหัวเมืองใหญ่ที่มีให้ขุนนางไปปกครองเมืองเล็กๆ รอบราชธานี และขึ้นตรงต่อเจ้ากรมในราชธานี ส่วนหัวเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญที่อยู่ถัดออกไปจะตั้งพระราชโอรส พระราชนัดดาออกไปปกครองเรียกว่า เมืองลูกหลวงหลานหลวง เมืองเหล่านี้อยู่ไม่ไกลนัก มีเมืองเล็กน้อยเป็นบริวารจัดการปกครองตนเองอย่างเกือบเป็นอิสระในด้านการเก็บภาษีอากร การควบคุมไพร่พล การพิจารณาคดีความ โดยมีขุนนางชั้นผู้น้อยช่วยราชการ การปกครองแบบนี้ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ สมเด็จพระนครินทราธิราช (1952-1967) ส่งอ้ายไปครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่ไปครองเมืองแพรก (สรรค์) ส่วนเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท เมื่อสวรรคตเจ้าอ้ายเจ้ายี่แย่งราชสมบัติกัน ถึงชนช้างที่ป่าถ่านหน้าวัดมหาธาตุในเมืองอยุธยา จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ เจ้าสามพระยาเลยได้สืบราชสมบัติต่อมา





ส่วนการดี มหาขันธ์ เสนอว่าพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ได้ทรงแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ชั้น สรุปได้ดังนี้





1.ราชธานี แบ่งการบริหารราชการเป็น 4 ส่วน คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา





2.หัวเมืองชั้นใน ประกอบด้วยเมืองเล็กๆ หรือเมืองลูกหลวง เช่น ปราจีนบุรี ชลบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ขึ้นตรงต่อราชธานี หรือเมืองลูกหลวง





3.เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ทั้งสี่ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก นครเขื่อนขันธ์ และสุพรรณบุรี เมืองลูกหลวงจะเป็นเมืองใหญ่มีปราการล้อมรอบเพื่อป้องกันข้าศึก มีเศรษฐกิจคมนาคมดีมีอำนาจปกครองตนเองอย่างอิสระ มีความสำคัญที่จะส่งพระราชโอรส หรือพระราชบุตรเขยไปปกครอง





4.หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองสำคัญที่อยู่ห่างไกลราชธานี พระมหากษัตริย์จะส่งขุนนางผู้ใหญ่ ไปปกครอง หรือเชื้อสายเจ้าเมืองเดิมปกครองสืบทอดไป เช่น โคราช จันทบุรี ไชยา นครศรีธรรมราช ทวาย ตะนาวศรี





ภายในเมืองหนึ่งๆ จะแบ่งเป็นแขวงๆ แบ่งเป็นตำบลๆ แบ่งเป็นหมู่บ้านมีเจ้าเมืองปกครองเองแต่ตั้งส่งบรรณาการมากำหนด และจัดทัพมาสมทบเมื่อได้รับคำสั่ง (ภารดี, อ้างแล้ว, น. 22-24)





3. การปกครองไพร่พลเมือง





ในสมัยอยุธยาตอนต้นไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่การที่มีกาย้ายเมืองสร้างเมือง มีศึกษาสงครามซึ่งต้องการเกณฑ์ผู้คนมาทำงานและเป็นทหารอย่างแน่นอน แต่ได้เริ่มมีระบบมูลนาย และบ่าวไพร่ขึ้นแล้วเพราะปรากฏในกฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899 มาตร 9 ระบุว่า "ราษฎรมาร้องฟ้องด้วยคดีประการใดๆ แลมิได้ตั้งสังกัดมุนายอย่าพึงรับไว้บังคับบัญชาเปนอันขาดทีเดีย ให้ส่งตัวผู้หาสังกัดมุนนายมิได้นั้นแก่สัสดีเอาเป็นคนหลวง" (กฎหมายตราสามดวง, 2537, เล่ม 2, น.32)





ยุคอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.1991-2199)





อาณาจักรอยุธยาเริ่มแผ่ขยายตัวออกมาตั้งแต่รัชกาลพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ที่ให้ขุนหลวงพงั่วดีเขมรได้ และในรัชกาลพระองค์ก็พยามจะตีอาณาจักรสุโขทัย และสามารถยึดได้บางเมือง พระราเมศวรขึ้นไปตีเชียงใหม่ และกัมพูชาอีกครั้ง พอถึงสมัยพระนครินทร์ก็ครอบครองสุโขทัย - พิษณุโลกได้แต่ให้ราชวงศ์พระร่างปกครองต่อไปจนถึงสมัยพระเจ้าสามพระยา จึงส่งพระราเมศวรรัชทายาทไปครองพิษณุโลกแทน เพื่อผนวกอาณาจักรสุโขทัย และเพื่อป้องกันพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่จะมาตีหัวเมืองทางเหนือ





การสงครามระหว่างเชียงใหม่กับอยุธยามีอยู่หลายคราวแต่อยุธยาไม่สามารถตีและยึดเมืองเชียงใหม่ได้ พระบรมไตรโลกนาถจึงเปลี่ยนนโยบายเสด็จไปประทับเสียที่เมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2006 และเสด็จสวรรคตที่พิษณุโลก เมื่อ พ.ศ.2031





อย่างไรก็ดี สรุปได้ว่าอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาได้แผ่ขยายไปมากกว่าในสมัยพระเจ้าอู่ทองมาก ผู้คนก็มากมายหลากหลาย การจัดการปกครองไม่เหมาะสมจึงต้องมาการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองใหม่ทั้งหมด ซึ่งนับได้ว่าเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ที่สุด มีผลสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์





การปฏิรูประบบการปกครองของพระบรมไตรโลกนาถ : ราชาธิปไตยแบบสมมติเทวสิทธิราชและศักดินานิยม





การปฏิรูปการปกครองของพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) นั้นเริ่มตั้งแต่ตอนต้นรัชกาล ตอนที่ยังประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา หลังจากที่เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลกในฐานะรัชทายาท อันหมายถึงว่า พระองค์มีประสบการณ์ในการปกครองมาแล้วทั้งทางแบบสุโขทัยและแบบอยุธยาหรือจะเรียกว่าแบบไทยเหนือ กับแบบไทยกลางผสมขอมก็ได้ ทั้งเกิดขึ้นจากการที่ทรงเห็นการทำสงครามขับเคี่ยวกับเขมร และเชียงใหม่ดังนั้นจึงทรงตระหนักถึงปัญหา การจัดการปกครองแบบพลเรือนและทหารผสมกัน แบบจตุสดมภ์และปัญหาการแต่งตั้งเมืองลูกหลวงหลายเมือง รวมทั้งระบบขุนนางข้าราชการที่ต่างเมืองต่างตั้ง จนขาดมาตรฐานที่จะใช้เป็นเครื่องวัดระดับชั้น เชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ พระสงฆ์ ประชาชน ตลอดจนทาส แล้วจึงทรงเห็นควรว่าควรปรับปรุงขนานใหญ่





สำหรับปฏิรูปในด้านต่างๆ ขอนำมากล่าวโดยสรุปเป็นลำดับต่อไปดังนี้





1.การส่งเสริมฐานะพระมหากษัตริย์ผ่านการตรากฎหมายเพิ่มเติม





สถาบันพระมหากษัตริย์และระบบกฎหมายของประเทศไทยก็เป็นสิ่งที่วิวัฒนาการควบคู่กันมากจากการที่สังคมค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากสังคมเล็ก และเรียบง่ายมาเป็นสังคมใหญ่ที่มีความสัมพันธ์ซ้ำซ้อนขึ้นการปกครองระดับหมู่บ้านก็กลายเป็นระดับเมือง แคว้น และอาณาจักร ผู้นำก็ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากพ่อบ้าน เป็นพ่อเมือง จนเป็นพระมหากษัตริย์ เครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการปกครองเมืองก็คือ กฎหมายก็มีความสำคัญขึ้นเมือ่พอ่บ้านพ่อเมืองไม่สามารถจะวางข้อบังคับ และตัดสินข้องขัดแย้งได้ด้วยตนเอง แม้เมื่อแบ่งหน้าที่ให้ขุนนางไปช่วยวินิจฉัยก็คงไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน ประกอบกับได้แนวคิด และหลักกฎหมายมาจากอินเดียฝ่ายพราหมณ์มาช้านานแล้วก็นำมาผสมกับหลักคิดทางพุทธ เช่น จักรวรรดิวัตร ทศพิธราชธรรม พรหมวิหารเอง ก็เป็นคติเดิมของพราหมณ์ซึ่งทางพุทธนำมาปรับใช้





นอกจากนี้ กษัตริย์มีพระราชอำนาจจะวินิจฉัยปัญหากฎหมาย และวางมาตรฐานใหม่ให้สอดคล้องกับพลเมืองในแต่ละยุคเรียกว่า "ราชศาสตร์" หรือจะทรงตราพระราชกำหนดขึ้นมาเพิ่มเติมใหม่ได้





โดยสาระสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าการปกครองโดยยึดหลักกฎหมาย และหลักศาสนามีมาแต่ดั้งเดิมก่อนตั้งสุโขทัย โดยใช้ธรรมศาสตร์ดั้งเดิม และราชศาสตร์ของกษัตริย์องค์ก่อนๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้นก็มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรใช้บังคับมาแล้ว แต่ในรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ ได้ตรากฎหมายลักษณะสำคัญเพิ่มขึ้นมีผลให้ยกย่องฐานะพระมหากษัตริย์ และสร้างระบบศักดินาขึ้นอย่างชัดเจน รวมทั้งมีผลในการจัดระเบียบบริหารราชการบ้างเมืองด้วย ดังจะกล่าวต่อไป





ที่จริงบทนี้ไม่มีวัตถุประสงค์จะกล่าวถึงวิวัฒนาการของระบบกฎหมายไทย แต่ก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ถ้าต้องการจะเข้าใจระบบการเมืองให้ถ่องแท้ นอกจากนี้กฎหมายต่างๆ ได้สะสมกันมานานจึงเห็นว่าควรจะอธิบายให้เห็นภาพรวมของระบบกฎหมายอยุธยาที่ใช้ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เพ่อจได้สรุปให้เห็นว่าส่วนใดมีการแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาในสมัยใด โดยจะขอยึดกฎหมายตราสามดวงที่ชำระขึ้นในรัชกาลที่ 1 เป็นหลัก





ก. กฎหมายตราสามดวง : ภาพรวมของระบบกฎหมายไทยและสมัยที่เริ่มบัญญัติขึ้น





กฎหมายไทยได้มีการตราขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษรมีหลักฐานชัดเจน ตั้งแต่รัชกาลพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยได้นำมาจากพระธรรมศาสตร์ของอินเดียผ่านทางมอญ และราชศาสตร์ของกษัตริย์ต่างๆ เช่น มังรายศาสตร์ (อ้างแล้ว) และในรัชกาลต่อๆ มาก็ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมขึ้นมากจนถึงาคราวเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่สอง กฎหมายต่างๆ ที่คัดด้วยลายมือมีความสับสนและแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมแบบฮินดู แบบพุทธ แบบไทยก็เปลี่ยนแปลงไปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้ชำระขึ้นใหม่เมื่อเสร็จแล้วก็โปรดให้ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้ว (อันเป็นตราของมหาดไทย, กลายโหม และกรมท่า) จึงเรียกกฎหมายตราสามดวง กฎหมายนี้แบ่งเป็นหมวดหมู่เรียกว่าลักษณะ (พร้อมทั้งรัชกาลที่ตราขึ้นตามที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, 2510, น..80 วิเคราะห์ และผู้เขียนได้ตรวจสอบและเพิ่มข้อมูลบางอย่างด้วย) ดังนี้





1.ลักษณะอินทภาษ (โอวาทของพระอินทร์แด่ผู้พิพิากษา, พระเจ้าอู่ทอง)





2.ลักษณะพระธรรมนูญ (จำแนกอำนาจหน้าที่ของศาลต่างๆ, พระเจ้าปราสาททอง





3.ลักษณะวิวาท





4.ลักษณะรับฟ้อง (พระเจ้าอู่ทอง, พระเอกาทศรถ หรือพระนารายณ์)





5.ลักษณะกรมศักดิ์ (เกี่ยวกับการปรับไหม, พระเอกาทศรถ)





6.ลักษณะศักดินาพลเรือน (พระบรมไตรโลกนาถ)





7.ลักษณะศักดินาทหารหัวเมือง (พระบรมไตรโลกนาถ)





8.ลักษณะกู้หนี้ (พระเจ้าปราสาททอง)





9.ลักษณะผัวเมีย (พระเจ้าอู่ทอง)





10.ลักษณะโจร (พระเจ้าอู่ทอง)





11.ลักษณะลักพา (พระเจ้าอู่ทอง)





12.ลักษณะทาส (พระเจ้าปราสาททอง)





13.ลักษณะเบ็ดเสร็จ (ว่าด้วยที่ดิน และสาเหตุ - พระเจ้าอู่ทอง, พระเอกทศรถ, ว่าด้วยการเช่ายืมทรัพย์ - พระเจ้าปราสาททอง)





14.ลักษณะพะยาน (พระเจ้าอู่ทอง)





15.ลักษณะมรดก (พระเจ้าทรงธรรม หรือพระเจ้าปราสาททอง)





16.ลักษณะตระลาการ (พระเจ้าอู่ทอง, พระเพทราชาเพิ่มเติม)





17.ลักษณะอุทธรณ์ (พระเจ้าปราสาททอง)





18.ลักษณะมูลคดีวิวาท (พระมโนสารปฐมาจารย์ได้จำแนกมูลคดีวิวาทไว้ 29 ประการ, พระเพทราชาเพิ่มเติม)





19.ลักษณะโจรห้าเส้น





20.ลักษณะกฎสามสิบหกข้อ (พระนารายณ์บัญญัติว่าด้วยคดีความฟ้องร้อง, การฟ้องคดี, การห้ามมิให้เสพเมถุนธรรมกับชาวต่างประเทศ, พระเพทราชบัญญัติว่าด้วยจารีตนครบาล, พระเจ้าท้ายสระเพิ่มวิธีพิจารณาความในศาล)





21.พระราชบัญญัติหลายประเภท (พระราชโองการตัดสินคดีต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ระหว่าง พ.ศ. 2326-48 รวม 22 คดี)





22.ลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง (พระเจ้าอู่ทอง)





23.กฎมณเฑียรบาล (พระบรมไตรโลกนาถ)





24.กฎหมายสงฆ์ (พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)





25.ลักษณะอาญาหลวง (พระเจ้าอู่ทอง, พระบรมไตรโลกนาถ, พระเจ้าปราสาททอง)





26.ลักษณะอาญาราษฎร์ (พระเจ้าอู่ทอง)





27.ลักษณะขบถศึก (พระบรมไตรโลกนาถ)





28.พระราชกำหนดเก่า (รวมบทเกี่ยวกับการปกครองท้องที่, พระเอกาทศรถ, พระนารายณ์, พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ, พระเจ้าบรมโกษฐ์)





29.พระราชกำหนดใหม่ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกระหว่าง พ.ศ. 2325-48 รวม 45 เรื่อง)





30.กฎหมายลิลิต และกรมศักดิ์สำเร็จ





(การเรียงหมวดหมู่ในฉบับพิมพ์ขององค์การคุรุสภา 2537 ซึ่งพิมพ์ตามฉบับหลวงเรียงชื่อเรื่องต่างกัน และรวมเป็น 28 เรื่อง ส่วนใหญ่ เรียกว่า พระไอยการ)





นอกจากนี้รัชกาลที่ 1 ได้ตรากฎหมายแก้ไขของเดิม และกฎหมายใหม่เช่น "วิธีใช้งานแทนเงินค้างแก่ไพร่" เกณฑ์ที่จะเลือกคนถวายตัวเป็นมหาดเล็กเข้าเฝ้าชาวที่" และรัชกาลที่ 2 และ 3 ก็ตราพระราชกำหนดเพิ่มเติมอีก เช่น การสักเลข, ห้ามมิให้สูบ และซื้อขายฝิ่น สำหรับความเป็นมาของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาว่ากฎหมายลักษณะใดบัญญัติขึ้นเมื่องใด โปรดดูคำอธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, 2505, เล่ม 1, น.636-655 กฎหมายตราสามดวงที่ชำระนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 5 (ภารดี, อ้างแล้ว, น.65-67)





โดยภาพรวมจะเห็นได้ว่าระบบกฎหมายไทยมีลักษณะเป็นการประมวลกฎหมายทุกลักษณะเข้าด้วยกันอย่างกว้างขวางสมบูรณ์ และสมดุล ดังที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กล่าวว่า "กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเพชรน้ำหนึ่งไม่แต่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเท่านั้น แต่เป็นเพชรน้ำหนึ่งในประวัติศาสตร์กฎหมายโลกด้วย เพราะนอกจากกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาจะมีทั้งกฎหมายสารบัญญัติกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของปวงชน และกฎหมายปกครองทำนองรัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินมากมายหลายลักษณะ แล้วกฎหมายกรุงศรีอยุธยายังมีบทบัญญัติยับยั้งการใช้อำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ไว้ด้วย..." (ม.ร.ว.เสนีย์, อ้างแล้ว, น. 80)





เมื่อดูลักษณ์การแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายสมัยอยุธยานี้จะเห็นได้วว่ากฎหมายของพระมนูสารเดิมมีลักษณะพราหมณ์เกี่ยวข้องกับอำนาจเทวราช และลักษณะคดีเรียบง่ายของสังคมอินเดียโบราณเมื่อมาถึงรัชกาลพระเจ้าอู่ทองก็มีบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับครอบครัว ที่ดิน และความอาญาของราษฎร์ของหลวง อันแสดงว่ามีประชาชนมากขึ้น, ส่วนการตรากฎหมายเพิมในรัชกาลพระบรมไตรดลกนาถเห้ฯได้ชัดเจนว่าเป็นการเพิ่มพระราชอำนาจ โดยออกกฎมณเฑียรบาล, การลงโทษกบถ, การเพิ่มอาญาหลวงและที่สำคัญ คือ การวางระบบศักดินาไว้ชัดเจน





การเพิ่มเติมกฎหมายในสมัยพระเจ้าปราสาททอง, พระนารายณ์, พระเพทาราชา, พระเจ้าท้ายสระเกี่ยวกับทาส, การเช่ายืม, การกู้หนี้, มรดก, วิธีพิจารณาคดี, ความสัมพันธ์ชู้สาวกับชาวต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีช่องทางทำมาหากินความร่ำรวย ความเกี่ยวพันกันทางแพ่งและการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าสังคมเกษตร - ไพร่ในยุคแรกๆ (ข้อมูลส่วนนี้วิเคราะห์จาก ภารดี, อ้างแล้ว, น.38-48, และ 65-69)





ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ในการปฏิรูปกฎหมายและการะมืองของพระบรมไตรโลกนาถจึงสมบูรณ์ขึ้น คือ ทรงเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าชีวิต, พระเจ้าอยู่หัว, จอมทัพ และพระราชาที่ปกครองโดยอาศัยหลักธรรมจึงเป็นธรรมราชาทรงตรากฎหมาย, วินิจฉับคดี และลงโทษได้โดยสมบูรณ์ เมื่อเสริมด้วยกฎหมายว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล, กฎหมายขบถ, กฎหมายศักดินา, พระราชพิธีเสริมพระเกียรติ,การมีฐานะสูงสุดเหนือระดับศักดินา, การอยู่เหนือระบบขุนนางข้ารางการ ฯลฯ ทำให้ฐานะส่วนพระองค์สูงส่งขึ้นอีกดังตัวอย่างเรื่องกฎมณเฑียรบาล





ข.กฎมณเฑียรบาล





เป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบประเพณีในราชสำนัก และจัดลำดับชั้น พระราชวงศ์เป็นส่วนสำคัญที่เชิดชูสถานะของพระมหากษัตริย์ กฎมณเฑียรบาลนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐษนวตราขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2002 ในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ใน "ธรรมเนียมราชตระกูล" ในกรุงสยามว่าตราขึ้นใน พ.ศ. 1903 ในสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงน่าเป็นไปได้ว่ากฎมณเฑียรบาล คงมีมาตั้งแต่ต้นสมัยอยุธยาแล้วปฏิรูปเพิ่มเติมอีกร้อยปีต่อมา อย่างไรก็ดีกฎมณเฑียรบาลในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนามี 5 ชนิด คือ





1.พระตำรากล่าวว่าถึงพระราชพิธีต่างๆ ทีมอบให้พระมหาราชครู พระกหังปายาราธิบดีฯ เป็นผู้กำหนดระเบียบในราชสำนัก เช่น ระเบียบการเข้าเฝ้า





2.พระธรรมนูญ กล่าวถึงตำแหน่งหน้าที่ในการักษาพระราชฐาน การเสด็จประพาสต่างๆ และการเข้าเฝ้าในกรณีเหล่านั้น





3.พระราชกำหนด กำหนดโทษต่างๆ ที่เกิดขึ้นราชสำนัก





4.พระอัยการพระราชสงคราม ว่าด้วยกฎอัยการศึกษาเกี่ยวกับระเบียบการทำสงคราม การให้ความดีความชอบเมื่อมีไชยชำนะ และโทษเมื่อถอยทัพ





5.การลำดับขึ้นพระราชวงศ์ ทรงโปรดให้กำหนดไว้เป็น 5 ขั้น คือ





1."สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" พระโอรสประสูติแต่พระอัครมเหสี มีสิทธิสืบราชสมบัติเหนือผู้อื่น ต้องประทับในเมืองหลวง ไม่ต้องออกไปกินเมืองใด (ต่างกับสุโขทัย และอยุธยาตอนต้น แม้ในรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถเอง พระโอรสองค์ใหญ่ก็ครองอยุธยาก่อนสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ขณะที่ขึ้นไปประทับ ณ พิษณุโลก)





2."พระมหาอุปรา" พระโอรสที่ประสูตแต่อัครชายา มีสิทธิสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า





3."ลูกหลวงเอก" พระโอรสที่ประสูติแต่พระมารดาที่เป็นราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน เหมือนกัน มียศไว้กินเมืองนอก เช่น พิษณุโลก สุโขทัย





4."ลูกหลวงโท" พระโอรสที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาที่เป็นหลานหลวง มียศไว้สำหรับกินเมืองโท เช่น สวรรคตโลก สุพรรณบุรี





5."พระเยาวพาณีราช" พระโอรสที่ประสูติแต่พระสนมถือเป็นเจ้าชั้นผู้น้อย ไม่ได้กินเมือง





มีข้อน่าสังเกตว่า กฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา ไม่มีบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ไว้เหมือนกัน ฉบับ พ.ศ. 2467 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตราขึ้น (สรุปจากภารดี, อ้างแล้ว, น. 30-31)





2.การจัดการปกครองบ้านเมือง





โปรดให้ใช้ระบบรวมอำนาจ สำหรับเมืองในวงราชธานี และกระจายอำนาจสำหนับหัวเมืองสำหรับราชการส่วนกลางทรงเปลี่ยนจากระบบจุสดมภ์ เป็นระบบอัครมหาเสนาบดีสองฝ่าย โดยแยกราชการทหารออกจากพลเรือนชัดเจน





ราชการทหาร หมีมุหกลาโหม ในตำแหน่งเจ้าพระยามหาเสนา เป็นหัวหน้า การจักหน่ายทหารคงจะจัดแบบจุรงค์เสนา คือ กองช้างกองม้า กองรถ กองพลราบ ตามธรรมเนียมอินเดียแต่ต่อมาคงเปลี่ยนกองรถเป็นกองเรือ เมื่อตั้งราชธานีที่อยุธยาอันเป็นที่ลุ่ม





ราชการพลเรือน หมีมุหนายก ในตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีศรีองครัดเคร่ง เป็นหัวหน้าราชการพลเรือนทั้งปวง และบังคับบัญชากรมจุสดมภ์ ซึ่งปรับปรุงและเพิ่มยศเป็นแบบเขมรมากขึ้นคือ การเมืองเดิมมีขุนเมืองเปลี่ยนเป็นพระนครบาล , กรมวังเดิมมีขุนวังเปลี่ยนเป็นพระธรสมาธิการ, กรมคลังเดิมมีขุนคลังเปลี่ยนเป็นพระโกษาธิบดี, และกรรมนาเดิมมีขุนนา ยกขึ้นเป็นพระเกษตรธิการ





ส่วนการปกครองหัวเมืองทรงเลือกแบบที่มีเมืองลูกหลวง 4 ด้าน เป็นแบบขยายราชธานีออกไปคลุมพื้นที่กว้างขวางขึ้น แต่ลดระดับเมืองต่างๆ รอบวงราชธานีเป็นเมืองชั้นจัตวามีผุ้รั้งเหมืองกับกรมการเมืองเป็นพนักงานปกครองขึ้นตรงอยู่กับเจ้าสังกัดในราชธานี





หัวเมืองนอกราชธานีจัดเป็นเมืองพระยามหานคร, ชั้นเอง, ชั้นโท ชั้นตรีตามลำดับขนาดและความสำคัญเรียกว่าหัวเมืองชั้นอก พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระองค์ และมีกรมการพนักงานปกครองทุกแผนกอย่างในราชธานี





หัวเมืองที่ห่างออกไปพลเมืองต่างชาติต่างภาษาอยู่ชายแดนก็ให้เมืองประเทศราช มีชนชาติเป็นเจ้านายปกครอง โดยทูลขอให้พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง และต้องถวายต้นทองเงินกับเครื่องราชบรรณาการทุก 3 ปี





ส่วนการปกครองท้องที่ ภายใจเขตเมืองต่างๆ นั้นมีเค้าเงื่อนไขในพระราชำกหนดเก่าว่ามีการปกครองตั้งแต่ระดับบ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า, หลายบ้านรวมเป็นตำบล มีกำนันซึ่งมักมีบรรดาศักดิ์เป็นพัน, เป็นหัวหน้า, หลายตำบลรวมเป็นแขวง มีเหมือนแขวงเป็นผู้ปกครอง หลายแขวงรวมเป็นเมือง มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง (สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ , 2470, น.14-15)





3.การปฏิรูปสังคมจากแบบสองชนชั้นเป็นห้าชนชั้น





ก. การจัดระบบศักดินา : การแบ่งเจ้านายและเป็นสี่ชั้น





แม้สังคมไทยจะไม่มีชั้นวรรณะอย่างสังคมอินเดียซึ่งแบย่งคนเป็นวรรณะต่างๆ ที่สำคัญคือ ขัตติยะ,พรมหมณ์, แพศย์, สูทร โดยมีวรรณะย่อยกว่า 200 วรรณะ นอกจกานี้ยังแบ่งความมีอำนาจศักดิ์ศรีของบุคคลตามจำนวนม้าที่อยู่หรือกำนหนดไใดเรียกวา "อัศวศักดิ์" เพราะนักอินเดียใช้ช้าง ม้าและรถ ซึ่งใช้ม้าเทียมเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อลัทธิพราหมณืแพร่หลายในราชสำนักไทยจึงปรับวิะวัดศักยภาพของบุคลากรจากอัศวศักดิ์เป็นศักดินา





กฎหมายกำหนดศักดินานี้ปรากฏชัดเจนครั้งแรกใน พ.ศ. 1997 ว่าพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ตรากฎหมาย 2 ฉบับเรียกว่า พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน กับพระอัยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง (กฎหมายตราสามดวง, 2537, เล่ม 1 น. 219-327) เพื่อจัดลำดับชั้นพระราชวงศ์ขุนนางข้าราชการใหญ่น้อยพลเมือง รวมถึงพระภิกษุ ไพร่ ทาสทั้งปวงว่ามีสิทธิมีอำนาจ และหน้าที่มากน้อยเพียงเท่าใด และต่อมาใช้ระดับศักดินานี้เป็นเกณฑ์ แสดงความรับผิดชอบในเรื่องการปรับไหม,การทำพินัยกรรมด้วย ทั้งนี้ อาจวิเคราะห์ไดว่ากฎหมายศักดินานี้ได้แบ่งสังคมไทยเป็น 5 ชั้น คือ พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยุ่ในฐานะสูงสุดชั้นหนึ่งต่างหากไม่มีใครจะเทียบได้ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์เป็นชั้น 2, ขุนนางข้างราชการเป็นชั้น 3, ไพร่พลเมืองสามัญเป็นชั้นที่ 4 ส่วนทาสเป็นชั้นที่ 5





บทบัญญัติของกฎหมาย 2 ฉบับนี้ได้กำหนดศักดินาของผู้ดำรงตำแหน่งฐานะโดยละเอียด แต่ในที่นี้จะขอยำมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น ดังนี้





(1.) พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน จัดลำดับดังนี้





1. สมเด็จพระอนุชาธิราช



ทรงศักดินา



20,000 ไร่





ถ้าทรงกรม



ทรงศักดินา



50,000 ไร่





ถ้าเฉลิมพระราชมณเฑียรที่มหาอุปราช



ทรงศักดินา



100,000 ไร่





2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ



ทรงศักดินา



15,000 ไร่





ถ้าทรงกรม



ทรงศักดินา



40,000 ไร่





ถ้าเฉลิมพระราชมณเฑียรที่มหาอุปราช



ทรงศักดินา



100,000 ไร่





3. พระอนุชา



ทรงศักดินา



7,000 ไร่





ถ้าทรงกรม



ทรงศักดินา



15,000 ไร่





4. พระเจ้าลูกเธอ, พระเจ้าหลานเธอ



ทรงศักดินา



6,000 ไร่





5. หม่อมเจ้า



ทรงศักดินา



1,500 ไร่





6.หม่อมราชวงศ์



ทรงศักดินา



500 ไร่





7.เจ้าพระยามหาอุราช, เจ้าพระยาจักรีศรี องครักษ์



ทรงศักดินา



10,000 ไร่





8. พระยายมราช, ออกญาพลเทพ, ออกญาศรีธรรมราช, ออกญาธรรมธิบดี (เจ้ากรมจตุสดมภ์) และพระมหาราชครู



ทรงศักดินา



10,000 ไร่





9. ออกญาพระราชสุภาวดี (สุรัสวดีกลาง), พระเพทราชา (สมุหพระคชบาล)



ทรงศักดินา



5,000 ไร่





10. หัวสิบ



ทรงศักดินา



30 ไร่





11. ไพร่มีครัว



ทรงศักดินา



30 ไร่





12. ไพร่เลว



ทรงศักดินา



10 ไร่





13. ยาจกวรรณิพก ทาส ลูกทาส



ทรงศักดินา



5 ไร่







ส่วนขุนนางในบรรดาศักดิ์เดียวกันอาจมีศักดินาต่างกันมากได้ เช่น พระยาถือศักดินาตั้งแต่ 3,00 ไร่ ถึง 10,000 ไร่,หลวง ตั้งแต่ 500 ถึง 3,000 ไร่, ขุน ตั้งแต่ 400 - 500 ไร่ขึ้นไป, หมื่น ตั้งแต่ 300 - 400 ไร่ขึ้นไป เป็นต้น (จำนวนศักดินามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มลดได้ตามยุคสมัยต้องดูใบสัญญาบัตรหรือใบประทวงแต่งตั้ง





(2) พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง กำหนดรายละเอียดศักดินาของทหารในราชธานีและหัวเมือง รวมทั้งพลเรือนในหัวเมืองด้วย เช่น





1. เจ้าพระยามหาเสนา (สมุหกลาโหม)



ถือศักดินา



10,000 ไร่





2. เจ้าพระยาสุรสีห์, ออกญาสีหราชเดโชชัย



ถือศักดินา



10,000 ไร่





3. พระพิไชยสงคราม, พระรามกำแหง, พระพิไชยรณฤทธิ์ (เจ้ากรมฝ่ายทหาร)



ถือศักดินา



5,000 ไร่





4. พระยาอภัยรณฤทธิ์ (เจ้ากรมตำรวจซ้าย)



ถือศักดินา



3,000 ไร่





5. พระเสนาภิมุข (เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น)



ถือศักดินา



1,000 ไร่





6. เจ้าเมืองตรี เช่น พิชัย, พิจิตร, พัทลุง



ถือศักดินา



5,000 ไร่





7. เจ้าเมืองจัตวา



ถือศักดินา



3,000 ไร่





8. หมื่นแขวง



ถือศักดินา



300 ไร่







นอกจากนี้ยังกำหนดศักดินาของภรรยาข้าราชการ, พระภิกษุสามเณร พราหมณ์ ตาปะขาว เช่น พระภิกษุรู้ธรรมเสมอนา 600 ไร่, ไม่รู้ธรรม 400 ไร่, พระครูรู้ธรรมเสมอนา 2,400 ไร่, ไม่รู้ธรรม 1,000 ไร่





ศักดินาข้าราชการนั้นเมื่ออกจากราชการแล้ว แต่ยังมีสมพลบ่าวไพร่อยู่ให้ถือนาได้ครึ่งหนึ่งถ้าไม่มีสมพลบ่าวไพร่ถือนาได้ 1 ใน 3 ของเมื่อครั้งอยู่ในราชการ





ในด้านการเมือง ระบบศักดินา ส่งเสริมพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ เพราะทางมีพระราชอำนาจจะแต่งตั้งบุคคลให้มีฐาะสูงต่ำได้ทำให้บุคคลพยายามถวายความจงรักภักดี และรับใช้ราชการ





ในทางสังคม ศักดินากำหนดสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกันตามฐานะ เช่น ผู้ใหญ่ละเมิดผู้น้อยจะถูกปรับตามศักดินาของผู้ใหญ่เอง ผู้น้อยจะไดรับเบี้ยปรับมากกว่าเมื่อถูกผู้น้อยด้วยกันละเมิดในทางกลับกันถ้าผู้น้อยละเมิดผู้ใหญ่ ก็จะถูกลงโทษตามศักดินาของผู้ใหญ่ คือมากกว่าละเมิดผู้น้อยด้วยกัน ทำให้ต้องระมัดระวังไม่รังแกผู้มีศักดิ์ไม่เสมอกัน (สรุปจากดภารดี, อ้างแล้ว, น.27-30 และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2527, น. 157-9 อนึ่ง พึงสังเกตว่าระบบศักดินาทำให้ผู้ใหญ่ผู้น้อยทำความผิดทางอาญาหรือแพ่งสถานเดียวกันจะได้รับโทษต่างกัน ซึ่งหลักกฎหมายสากลถือว่า ไม่ถูกต้องและบังคับให้ไทยแก้ไขระบบกฎหมายเสียใหม่ แต่ในปัจจุบันระบบกฎหมายสากลกลับคิดว่าโทษปรับเท่ากันไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีรายได้ต่างไน ส่วนโทษอาญาได้พยายามเปลี่ยนโทษจำคุกมาเป็นโทษให้บริการแก่สังคมแทน)





ข) ระบบยศ, ฐานันดร, บรรดาศักดิ์, ราชทินนาม ช่วยเสริมระบบศักดินา





ระบบยศถาบรรดาศักดิ์ ในสังคมไทยเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ระบบศักดินา และค่านิยมสนับสนุนความแตกต่างระหว่างชนชั้นในสังคมไทยติดอยู่ในจิตสำนึกของคนไทยในปัจจุบัน จนเรียกกันรวมๆ ว่า จิตสำนักศักดินา หรือศักดินานิยม อันขัดแงตรงข้ามกับจิตสำนึกประชาธิปไตย ทำให้สังคมไทยเป้ฯสังคมประชาธิปไตย ได้ยากเย็นจนถึงทุกวันนี้จึงขอนำมากล่าวรวมไว้ในที่นี้พอเป็นสังเขป





สังคมไทยสมัยอยุธยาตอนต้นความแตกต่างระหว่างชนชั้นมีน้อย และมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนกลาง เป็นต้นมา เข้าใจกันมาบรรดาศักดิ์และราชทินนามคงจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ส่วนยศหรืออย่างน้อยชั้นยศทหารคงมีมาชัดเจนในสมัยจัดการทหารแบบฝรั่งโดยสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และยศพลเรือนมาเสริมโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักจะจำแจกฐานันดร คือ ลำดับในการำกำหนดชั้นบุคคลเพื่อ่ให้เห็นระดับชั้น และความรับผิดชอบกับความต้องการให้บุคคลตั้งใจรับราชการด้วยความจงรักภักดี เพื่อจะได้เลื่อนยศตำแหน่งไปตามลำดับแต่ผลสำคัญที่สุด คือ ทำให้บุคคลธรรมดาต้องสลายความผูกพันไปครอบครัววงศ์ตระกูล และความเป็นตัวของตัวเอง ออกไปให้ผูกมัดอยู่กับตำแหน่งในระบบราชการโดยสิ้นเชิง เพราะต้องเลิก หรือแยกตัวเองออกจากชื่อตั้งเดิมที่พ่อแม่ตั้งให้ ซึ่งในสมัยก่อนเรียกเพียงว่าเป็นอ้าย และอี, และทิด-อำแดง ออกไปเป็นขุนนางเจ้าขุนมูลนายมีบรรดาศักดิ์ และราชทินนามใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เมื่อเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ดังตัวอย่างข้างต้น พระยาอัยรณฤทธิ์ มีตำแหน่งเป็นเจ้าตำรวจซ้ายโดยไม่มีใครรู้จักว่าชื่อเดิมว่าอะไร และเมื่อใครก็ตรมจะเข้าดำรงตำแหน่งนี้ก็จะได้บรรดาศักดิ์ และราชทินนามนี้ไปตลอด เพิ่งมานิยมวงเล็บชื่อตัว หรือบางทีสกุลเดิมไว้ในภายหลัง (สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ สิทธิผลประโยชน์ และอื่นๆ ของขุนนางสมัยอยุธยา ดูได้จากมานพ ถาวรวัฒน์สกุล, 2536)





1. บรรดาศักดิ์ คือ ฐานะของขุนนางซึ่งไดรับพระราชทานเนื่องจากตำแหน่ง (ต่อมาไม่เนื่องจากตำแหน่งก็มี) บางท่านเรียกว่า ยศ เช่น ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา สมเด็จเจ้าพระยา ส่วนระดับ สิบ ร้อย พัน หมื่น จะนับเป็นบรรดาศักดิ์หรือไม่ ไม่ชัดเจนเพราะส่วนใหญ่ถือว่าขุนนาง คือ ระดับขุนขึ้นไปซึ่งมีศักดินา 400 มีฐานะเป็นมูลนายได้ (มูลนาย คือ นายใหญ่ ที่มีไพร่ในสังกัด)





2. ราชทินนาม หมายถึง นามบรรดาศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะพระราชทานตั้งแต่ระดับใด เพราะบางครั้งระดับพัน หมื่น ก็มีราชทินนามแล้ว เช่น พันท้ายนรสิงห์ หมื่นเสมอใจราช ถ้าเจ้ากระทรวงออกใบคำสั่ง ตั้งยศให้เรียกว่า "ใบประทาน" ปัจจุบันสัญญาบัตร หมายถึง ทหารชั้นร้อยตรีขึ้นไปส่วนนายสิบ นายว่าเรียกว่า นายทหารชั้นประทวน ราชทินนามมักจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ เช่น หลวงประเสริฐมนูกิจ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม





3. ยศ หมายถึง เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล เป็นยศชั้นต่างๆ เช่น ของทหารจะมียศ ตั้งแต่สิบตรีขึ้นไปจนถึงจอมพล ในฝ่ายพลเรือนยศที่ใช้นำหน้านามในรัชกาลที่ 6 คือ รองอำมาตย์ตรี-โท-เอก, อำมาตรย์ตรี-โท-เอก และมหาอำมาตรย์ตรี -โท-เอก ส่วนข้าราชการในราชสำนักได้ทรงตั้งเป็นยศ ประเภทเสวก





4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับเกียรติยศ ที่เรียกว่าเหรียญตราเข้าว่าจะเริ่มพระราชทานในรัชกาบที่ 4 และเพิ่มมากขึ้นในรัชกาลที่ 5 เป็นเครื่องหมายที่แสดงระดับชั้นของข้าราชการ และประชาชนซึ่งมีความสำคัญทางจิตรวิทยาของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 แล้วได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม และยศพลเรือน ยศข้าราชการสำนักแล้ว คงเหลือแต่ยศทหารตำรวจเท่านั้น ส่วนยศอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเรียกว่า ตำแหน่งทางวิชาการ ให้นำมานำหน้านามได้เสมือนยศ ซึ่งยังมีปัญหาทางปฏิบัติมาก เพราะหลายกรณีมิได้รับพระราชทานมาเหมือนยศทหาร





ค) การจัดระบบไพร่พลเมือง





แม้พลเมืองไทยโดยส่วนรวมจะมีความรู้สึกว่าเป็นคนที่รักอิสระเสรีภาพ และคิดว่าตนมีลิทธิเสรีภาพมากมาตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น ที่จริงเมื่อตั้งเป็นราชอาณาจักรขึ้น ก็ทำให้เกิดฐานะของผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองขึ้นเป็นธรรมดา โดยบรรดาผู้ปกครองจะปกครองประเทสให้เรียบร้อยได้เก้ต้องมีประชาชนเป็นกำลังของบ้านเมือง ในแง่เศรษฐกิจ และสังคม คือ มีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตน และเสียภาษีอากรบาอย่างให้ประเทศ และต้องมาช่วยกันทำงานเพื่อส่วนรวมเรียกว่าเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงบและยามสงครามเดิมทีมีข้าราชการ และข้าราชบริพารเพียงเล็กน้อย ชนชั้นขุนนางจึงยังไม่เกิดขึ้นสังคมจึงมีเพียง 2 ชั้น คือ เจ้า กับ ไพร่ ต่อมาเมื่อภารกิจของพระเจ้าแผ่นดินมาขึ้น ก็ทรงแต่งตั้งข้าราชการมากขึ้นจนเกิดเป็นชนชั้นขุนนางขึ้นอีกชั้นหนึ่ง แต่ไม่มีจำนวนมากพอจะปฏิบัติราชการได้ทั้งหมด จึงต้องเกณฑ์พลเมืองมาช่วยราชการ ดังนั้น จึงเกิดระบบไพรขึ้นในภาพรวมดังนี้





ไพร่ คือ พลเมืองทั่วไปที่มีอิสระเสรีจะประกอบอาชีพ และตั้งบ้านเนืองอยู่ตามอัธยาศัย แต่จะมาถูกเกณฑ์มาช่วยราชการทั้งในยามสงบ และยามสงครามโดยจัดเป็นระบบขึ้นทะเบียนว่าไพร่ผู้ใดอยู่ที่ไหนจะต้องแจ้งให้นายบ้านนายแขวงทราบ ส่วนการจัดการขึ้นทะเบียนเป็นหน้าที่ของกรมกองใด และจัดแบ่งไพรไปสังกัดมูลนายอย่างไรทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองยังไม่ชัดเจนในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เพิ่งชัดเจนขึ้นในรัชกาลพระเชษฐาธิราช (พระรามาธิบดีที่ 2) ดังจะได้กล่าวต่อไป





1.ไพร่สม หรือสมสัก





ได้แก่ ชายไทยเมื่ออายุครบ 18 ปี จะต้องมาชึ้นทะเบียนที่กรมพระสุรัสวดีซึ่งจะได้รับการสักที่ท้องมือว่า เป็นคนในสังกัดกรมใดซึ่งมักได้แก่ กรมที่บิดาสังกัดอยู่ มูลนายเจ้าสังกัดจะได้ฝึกหัดใช้สอย บางแห่งว่าไพร่สม คือ ไพร่ที่ทำงานให้มูลนายโดยตรง จนครบอายุ 60 ปี ไม่ต้องไปเป็นไพร่หลวง (ขจร สุขพาณิช, 2525, น. 40-49)





2.ไพร่หลวง





คือ ไพรสมเมื่ออายุครบ 20 ปี ถ้าเป็นไพร่ในเขตหัวเมืองชั้นในก็ให้มารายงานตัวในราชธานี เพื่อเข้ารับราชการตามกรมกองที่สังกัดไว้ แล้วมาเข้าเวร คือ ผลัดกันเข้าทำงานหนึ่งเดือนกลับบ้านไปประกอบอาชีพหนึ่งเดือน เรียกว่า "เข้าเดือน ออกเดือน" จึงเท่ากับทำราชการปีละ 6 เดือน (ต่อมามีการผ่อนผันหลายรูปแบบ เช่น ลดเวลาข้าเวรหรือจ่ายเงินแทน เรียกว่า ค่าราชการ)





ในหัวเมืองชั้นนอก ไพร่หัวเมืองจะมีฐานะเป็นไพร่ (หลวง) ส่วย,ไพร่ (หลวง) กองด่านและไพร่คงเมือง ไม่ต้องเข้าเวรรับราชการในราชธานี และในวังจากต่างหัวเมืองมากกว่ากำลังคน





ไพร่หลวงนี้ต้องรับราชการตั้งแต่อายุ 20 ปี ถึง 60 ปี หรือเมื่อมีลูกชายมารับราชการแทนตัว 3 คน (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2470, 70, น. 16-17; ภารดี, อ้างแล้ว, น.15-17)





ไพร่และมูลนายมีความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกันตามกฎหมายศักดินา เช่น มูลนายต้องให้ความคุ้มครองแก่ไพร่ในสังกัดของตน ถ้ามีคดีความมูลนายต้องนำเรื่องขึ้นฟ้องต่อศาล ไพร่ฟ้องเองไม่ได้ ไพร่ไม่มีสังกัดก็ฟ้องไม่ได้ ถ้าทำผิดเล็กน้อยมูลนายลงโทษได้ เมื่อเกิดสงครามมูลนายนำไพร่สมของตนไปได้ ไพร่เจ็บป่วยเดือดร้อยขาดอาหารมูลนายต้องช่วยเหลือตามสมควร ส่วนไพร่ต้องเคารพเชื่อฟัง และให้บริการแก่มูลนาย





ระบบมูลนายและไพร่นี้คงจะมีทั้งผลดีและผลเสียปละความสับสนมาก ข้อดีก็มีที่ทำให้พระมหากษัตริย์และเจ้านายขุนนาง มีแรงงานของไพร่พลเมืองมาใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะไพร่ต้องนำอาหารมากินเอง ทำให้มูลนายมีฐานะมีเข้าของทรัพย์สิน ทำให้มีแรงงานทำงานก่อสร้างต่างๆ ของรัฐบาลและมูลนาย รวมทั้งนำมาฝึกทหาร และนำไปเข้ากองทัพต่อสู้กับข้าศึกได้ได้สะดวกและทันท่วงที





ส่วนข้อเสียก็คือ พลเมืองไม่อาจทำมาหากิจได้โดยเสรีและต่อเนื่องต้องไปเข้าเวรสลับกันทุกเดือน แม้งานด้านเกษตรอาจไม่เสียหายมาก แต่งงานพาณิชย์ อุตสาหกรรม หัตถกรรม คงเสียหายมาก ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของคนไทยเป็นไปไม่ได้ คงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนต่างด้าวเข้ามาเป็นพ่อค้าวาณิช ช่างฝีมือทุกสาขา งานเมื่อถูกทำงานฟรีย่อมขาดความจูงใจ อาจไม่พยาบยามพัฒนางานฝีมือพลเมืองจำนวนหนึ่งคงหลบหนีไม่ยอมมาขึ้นทะเบียนไพร่สมไพร่หลวง เมื่อหนีไปอยู่ที่ห่างไกลหรือขายตัวเป็นทาส เพื่อหนีถูกเกณฑ์ อนึ่งเมื่อมูลนายเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนฐานะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล หรือเปลี่ยนราชวงศ์มูลนาย อาจถูกราชทัณฑ์ไพร่ก็ต้องเดือดร้อนด้วย โดยเฉพาะถ้าถูกหาว่าเป็นฝ่ายกบฎ





ง) ระบบทาส





ระบบทาสได้เปลี่ยนแปลงมาหลายสมัยตั้งแต่ที่บัญญัติในพระไอยการทาษในรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง และมาชำระเป็นกฎหมายตราสามดวงในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งได้จำแนกทาสออกได้เป็น 7 ประเภทคือ





1.ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่นายเงินซื้อไว้จากบิดามารดา ญาติ สามีหรือนายเงินเดิม





2.ทาสในเรือนเบี้ย คือ ทาสที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาส





3.ทาสที่ได้มาแต่บิดามารดา คือรับมาเป็นมรดก





4.ทาสท่านให้ คือ มีผู้ยกให้





5.ทาสที่ได้มาเนื่องจากนายเงินไปช่วยให้ผู้นั้นพ้นโทษปรับ





6.ทาสอันได้เลี้ยงในเวลาเกิดช้าวยากหมากแพง





7.ทาสเชลย ได้มาจากสงคราม ถือเป็นของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานแจกจ่ายให้แม่ทัพนายกองที่มีความชอบ





ความสัมพันธ์ระหว่างนายกับทาสน่าจะถือเป็นความสัมพันธ์ทางเดียวเพราะนายทาสอำนาจเหนือทาสอย่างเด็ดขาด ลงโทษทัณฑ์แต่ไม่ถึงตายได้ ส่งไปรับโทษแทนตัวได้ ไปรบแทนตัวได้ ทำเข้าเสียหาย ต้องชดใช้นายในราคาเต็ม นายอาจขับไล่ หรือขายทาสต่อไปได้





ทาสอาจจะหลุดเป็นไทได้ เมื่อนายเงินให้ทาสไปบวชเป็นพระภิกษุ หรือบวช หรือเป็นชี หรือหลุดรอดจากการถูกจับเป็นเชลย เมื่อไปทำสงครามแทนนายเงิน หรือฟ้องว่านายเป็นกบฎเป็นชี หรือหลุดรอดจากการถูกจับเป็นเชลย เมื่อไปทำสงครามแทนนายเงิน หรือฟ้องว่านายเป็นกบฎนายเงินพ่อหรือพี่น้องลูกหลานของนายเงินเอาทาสเป็นภรรยาถือว่าภรรยาและลูกเป็นไท และด้วยการไถ่ตัวเอง หรือผู้อื่นมาไถ่ (กฎหมายตราสามดวง ตอนพระอัยการทาษในเล่ม 2,2537, น.285-343)





การที่นายเงินสามารถปฏิบิตต่อทาสได้ทุกอย่างนอกจากลงโทษถึงตาย และทาสก็ได้รับความคุ้มครอง และยกเว้นไม่ต้องไปเป็นไพร่หลวง ไพร่สมทำให้เกิดสถานกรณ์ที่จะทำให้เป็นทาสได้มากขึ้นและทาสอาจมีความสุข ความทุกข์ได้ตามอัธยาศัยของนายเงิน แต่ผลที่เกิดขึ้นเป็นส่วนรวม คือทำให้คนไทยมีจิตสำนึกยกย่องและเกรงกลัวคนมีเงินเพระาจะมีอำนาจด้วยเมื่อเสริมกับระบบศักดินาทำให้เกิดจิตสำนึกอย่างทาสชอบรับใช้ รับคำสั่ง คิดเองทำเองพึ่งตนเองไม่เป็น มีนิสัยเกรงกลัวอำนาจเงิน อำนาจราชศักดิ์ไม่เคารพตนเองหรืออุดมการณ์ใดๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ยังมีคติติดปากกันว่า "มีเงินเขาก็วิ่งมาเป็นข้า พึ่งพระเดชเดชาให้ใช้สอย" "มีเงินนับเหมือนน้องมีทองนับเหมือนพี่ ยากจนเงินทองพี่น้องไม่มี่" "ไม้ซีกอย่าไปงัดไม้ซุง" "เมื่อเป็นผู้น้อยค่อยก้มประณมกร ลำบากไปก่อนแล้วจะสบายเมื่อปลายมือ" คติและจิตสำนำเหล่านี้ขัดแย้งต่อหลักและอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง





การปรับปรุงการจัดการปกครองฝ่ายทหารในรัชกาลพระรามาธิบดีที่ 2 (2034-72)





การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนาถเข้าใจว่าจะจัดได้ลงตัวเรียบร้อยในงานฝ่ายพลเรือน แต่ในฝ่ายทหาร และการตระเตรียมกำลังพลมาขึ้นทะเบียน คงไม่เรียบร้อยดี ดังนั้นพระเชษฐาธิราช พระราชโอรสที่ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (2031-2034) เป็นพระรามาธิบดีที่ 2 ผ2034-72) จึงทรงปรับปรุงการจัดระเบียบฝ่ายทหารให้ดีขึ้น เพราะเริ่มมีการศึกสงครามมากขึ้น ด้วยการจัดทำตำราพิชัยสงคราม (เมื่อ พ.ศ. 2061) การทำสารบัญชีเพื่อขึ้นบัญชีทะเบียนพล และการจัดทำพิธีซ้อมระดม และซ้อมรบทุกหัวเมือง





ส่วนที่นับว่าสำคัญที่สุด คือ การจัดระเบียบการเกณฑ์ไพร่มาขึ้นทะเบียนแก่เจ้าขุนมูลนาย โดยตั้งหรือขายกรมสุรัสวดีกลาง ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนไพร่ในวงราชธานี และคุมกำลังพลภาคเหนือ ภาคใต้ โดยมีกรมพระสุรสวดีคุมการทำบัญชีพงในหัวเมืองภาคเหนือ (การแบ่งเช่นนี้เป็นไปตามคติพราหมณ์ว่ากษัตริย์ประทับผินพระพัตรไปทางตะวันออก ดังนั้นพระกรขวา-ฝ่ายพระเดช จึงอยู่ทางทิศใต้ ส่วนพระกรซ้าย-ฝ่ายพระคุณ จึงอยู่ทางทิศเหนือ และต่อมาเมื่องานทหาร-พลเรือนปะปนกันมากจึงแบ่งให้กลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้มหาดไทยฝ่ายเหนือเสียเลยตามคตินี้)





การแบ่งงานออกเป็น 3 กรมสุรัสวดี น่าจะเป็นผลให้การขึ้นทะเบียนไพร่หลวงในส่วนกลาง โดยแยกไพร่ไปสังกัดมูลนายทั้งฝ่ายเจ้านาย และฝ่ายขุนนาง ทั้งทหารและพลเรือน ส่วนทางภาคเหนือ ภาคใต้ คงต้องแบ่งไพร่ สมออกให้แก่เจ้าเมือง และขุนนางฝ่ายทหาร และพลเรือนเช่นกัน (ข้อมูลในเรื่องนี้มีในภารดี, อ้างแล้ว, น.34-37 ซึ่งไม่ตรงกับข้อมูลในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, อ้างแล้ว, น.154-155)





การปรับปรุงการปกครองในรัชกาลพระเอกาทศรถ (2148-53)





หลังจากการปรับปรุงการปกครองในรัชกาลพระรามาธิบดีที่ 2 แล้วก็ไม่ปรากฏได้มีการปรับปรุงการปกครองอีกเกือบ 80 ปี จนถึงรัชสมัยพระเอกาทศรถ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงกษัตริย์หลายครั้ง และไทยต้องทำสงครามครบพุ่งกับพม่า และเพื่อนบ้านอื่นๆ จึงไม่มีเวลาจะปรับปรุงการบริหารบ้านเมือง





พระเอกาทศรถได้ทรงโปรดให้ปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการศาลใหม่ โดยให้ตรากฎหมายลักษณะพระธรรมนูญขึ้น (อยู่ในลักษณะที่ 2 ของกฎหมายตราสามดวง) และทรงปรับปรุงการเก็บภาษีอากรหลายประการ เช่นวิธีการเสียส่วย (ส่งเงินช่วยราชการแทนเข้าเวรทำราชการ) วิธีการเก็บอากรขนอน (เก็บภาษีสินค้าร้อยชิงสิบ) และอากรตลอด (ภาษีโรงร้าน) (พระปวโรฬารวิทยา และคณะ, 2480, น.168; พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, 2505, น.655-658)





ยุคอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2199-2310)





ถ้าจะนับการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงเสียกรุงแก่พม่าก็จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อย เพระาหลังรัชกาลพระเชษฐาธิราชไทยก็มีการสงครามกับพม่ามาเนิ่นนานจนไม่มีเวลาจะปรับปรุงตัวระบบการปกครองขนานใหญ่ การเปลี่ยนแปลงจึงมีเพียงทางด้านการบริหารราชการ และสภาพทางการเมือง แต่ไม่ถึงขึ้นเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองบ้านเมืองดังจะได้กล่าวต่อไป





การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของฝ่ายมหาดไทย และกลาโหมในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา (2231-2245)





ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้จัดการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีหลักการใหญ่ให้แยกราชการทหารออกจากพลเรือนอย่างชัดเจน แต่ละฝ่ายมีอัครมหาเสนาบดีเหนือตำแหน่งเสนาบดีของกรมชั้นจตุสดมภ์และจตุรงคเสนาเป็นหัวหน้า การจัดการปกครองแบบแยกทหาและพลเรือนนี้ก็ได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างน้อยจนถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ แต่พอถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พวกหัวเมืองก่อการกบฎหลายเมือง หรือเป็นด้วยการสั่งการก้าวก่ายกันมาก เนื่องด้วยขุนนางต่างก็ทำหน้าที่ทั้งทางทหารและพลเรือน เพราะผู้มีตำแหน่งหน้าที่ทางพลเรือน เมื่อเวลามีศึกสงคราก็ต้องไปราชการทัพด้วย หรือเป็นเพราะฝีมือของขุนนางแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนทำงานสายหน้าที่ อย่างท่านพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ซึ่งโดยหน้าที่ก็คือ เสนาบดีกรมพระคลัง แต่ปรากฏว่าสามารถเป็นแม่ทัพที่ดีได้ สมเด็จพระเพทราชา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมุหนายก (มหาดไทย) บังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ทั้งงานทหารและพลเรือน ส่วนสมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้





ต่อมาในรัชกาลใดไม่ทราบชัด สมุหพระกลาโหมผู้หนึ่งความผิด จึงโปรดให้เอาหัวเมืองฝ่ายใต้ไปสังกัดท่า คือ เสนาบดีพระคลัง จนถึง พ.ศ. 2325 หลังปราบดาภิเษกรัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้แบ่งหัวเมืองกันใหม่ คืนหัวเมืองฝ่ายใต้ให้สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชา (ดู น.ม.ส., 2505, น.391-2) เว้นแต่หัวเมืองปากอ่าง เพราะเป็นเมืองที่มีชาวต่างประเทศมาค้าขายอยู่กับกรมท่า ซึ่งมีหน้าทีซื้อขายแก่พ่อค้าต่างประเทศ กรมทำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรมพระคลังจึงมีความชำนาญในการค้าขาย และการติดต่อกับต่างประเทศมาแต่ครั้งอยุธยา (สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ, 2470, น.27) และควอริช เวลส์, 2527, น.92)





อย่างไรก็ดี การปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้นี้ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นหน้าของใครเมื่อใด เฉพาะมีหลักฐานหลายประเภทที่ชี้ให้เห็นว่านับแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ฝ่ายกลาโหมบ้าง พระคลังบ้าง แม้ฝ่ายสมุหนายกบ้าง ผลัดกันบังบัญชารับผิดชอบ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, อ้างแล้ว, น.252)





การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสมัยอยุธยาตอนปลาย





แม้ระบอบการเมืองไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบสมมติเทวราชาธิปไตยไปเป็นอย่างอื่นแต่ปรากฏว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบอยู่ตลอดเวลา โดยมีลักษณะทั้งค่อยเป็นค่อยไป และรุนแรงโดยอาจกล่าวโดยสรุปว่า ในด้านการเมืองระดับสูงเองมีการแย่งชิงราชสมบัติ หรือประหัตประหารเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ อยู่ตลอดเวลาเกือบทุกรัชกาลหลังพระเอกาทศรถเป็นต้นมา ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ขาดเสถียรภาพจน ต้องออกกฎหมายบีบคั้นให้ทุกฝ่ายเพิ่มความจงรักภักดี โดยเพิ่มอัตราโทษและวิธีการลงโทษที่รุนแรง ซึ่งผลที่ สุดก็มักไม้ได้ผล ทำให้เจ้านายขุนนาง พ่อค้าไพร่พลขัดขวางด้วยประการต่าง ๆ





อาจกล่าวได้ว่าเสถียรภาพทางการเมืองมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพสังคมทั่วไป การก่อตัวของชนชั้นพ่อค้า การขยายอำนาจของขุนนาง การที่ไพร่ถูกกดขี่จนต้องหาทางออกด้วยวิธีการส่งเงินแทนการเข้ารับราชการ





หรือยอมตนไปเป็นทาสและไพร่สมเป็นคนของขุนนางมากขึ้น ไพร่หลวงก็มีน้อยลง ครั้นให้ไพร่สมแบ่งมาเป็นไพร่หลวงเข้าเวรรับราลการหนักขึ้น ไพร่ก็หลบหนีเป็นปัญหาแบบวัวพันหลักปรากฏอยู่ทั่วไปทุกวงการ





ในที่นี้สามารถพรรณาประวัติวิวัฒนาการทางสังคม และเศรษฐกิจได้ จึงขอสรุปว่า เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ค่อยมีเสฐีรภาพก็พยายามปรับตัวในสักษณะเพิ่มอำนาจ โดยการตรากฎหมายมากขึ้น รุนแรงขึ้น





โดยพยายามยึดหลักการปกครองแบบสมสติเทวราชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากกฎหมายของพระเจ้าบรมโกษฐ์ บัญญัติว่า





"อนึง แผ่นดินเป็นใหญ่แต่สมเด็จพระมหากระบัตร ด้วยเหตุว่าพระมหากระบัตรเจ้านั้นเป็นสมมติเทวดา จะให้ผู้ใหญ่เป็นผู้น้อย ๆ เป็นผู้ใหญ่ก็ได้ ถ้าสมเด็จพระมหากษัตริย์มีพระราชโองการด้วยกิจสิ่งใด ๆ ก็ดีดุจดังขวานฟ้า...ถ้าจะมีโองการตรัสสั่งให้ห้ามสิ่งใดก็ขาดสั่งนั้น"(พระราชกำหนดเก่า มาตรา 50, กฎหมายตราสามดวง, 2537 เล่ม 5, น.152)





จะเห็นได้จากน้ำเสียงของกฎหมายตอนปลายสมัยอยุธยาว่า จะเน้นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์





ในฐานะสมมติเทวราชมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันจุดเน้นในเรื่องการจำกัดพระราชอำนาจ โดยหลักธรรมะดูจะลดลงตามลำดับ บ้านเมืองจึงปกครองกันด้วยอำนาจมากกว่าธรรมะ (พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายที่นับถือว่าปกครองด้วยธรรมมะ คือ พระเจ้าทรงธรรม (2153-2171) ส่วนพระเจ้าอุทุมพรก็ทรงหลีโลกมากกว่าจะทรงธรรมะ จนราษฎรเรียกว่าขนหลวงหาวัด)

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบเบญจมราชานุสรณ์




1. อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตติดต่อทางภาคเหนือกับที่ใด

ดงพญาเย็น

เทือกเขาพนมดงรัก

เมืองหงศาวดี

เมืองลำพูน






2. อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองที่สุดในสมัยใด

พ่อขุนบานเมือง

ขุนหลวงพ่องั่ว

พ่อขุนรามคำเเหง

พระยาตาก






3. อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาในสมัยใด

พญาลิไท

พญาไสลือไทย

พ่อขุนรามคำเเหง

พ่อขุนบานเมือง






4. การปกครองในสมัยสุโขทัยเป็นครองเเบบใด

คอมมิวนิส

พ่อปกครองลูก

ลูกเป็นใหญ่กว่าพ่อ

ประชาชนปกครองตัวเองยึดหลักเสรีภาพ






5. การค้าในสมัยสุโขทัยเป็นเเบบใด

ทุนนิยม

เสรีนิยม

สังคมนิยม

ผสมผสาน






6. ใครไม่ใช่กษัตริย์ของอาณาจักรสุโขไทย

พ่อขุนบานเมือง

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พระยาเลอไทย

เจ้าฟ้ากุ้ง






7. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีอีกชื่อว่า

พ่อขุนรามราช

พ่อขุนบางกลางหาว

พญาไสเลอไทย

พ่อขุนผาเมือง






8. ราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุดในสมัยใด

พ่อขุนผาเมือง

พ่อขุนบานเมือง

พระมหาธรรมราชาที่4

พ่อขุนรามคำเเหง






9. กษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองเป็นเอกราชมากี่พระองค์

สี่พระองค์

หกพระองค์

สิบพระองค์

เก้าพระองค์






10. ราชวงศ์พระร่วงสิ้นลงในพ.ศ.ใด

1994

2527

1056

1981











ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:

การเมืองการปกครองของสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. 1781-1962)


ราว พ.ศ. 1565 ก่อนจะเริ่มตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยายังอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ขอม ซึ่งแผ่อำนาจมาถึงละโว้ (ลพบุรี) และลำพูน แต่ต่อมาเกิดขบถแห่ง ละโว้ได้เป็นเอกราชระยะหนึ่ง ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) ตีเมืองต่างๆ คืน รวมทั้ง สุโขทัย แต่ก็ทรงยกธิดาพร้อมทั้งพระชรรค์ชัยศรีแก่พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด โอรสพ่อขุนศรีนาวนำถุมผู้ครองอาณาจักรเชลียง (สวรรคโลก) พร้อมทั้งตั้งให้เป็นใหญ่นามว่า "ศรีอิทรดินทราทิตย์"

พ่อขุนผาเมือง ได้ทรงร่วมมือกับพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางหาว เข้าตีเมืองต่างๆ รอบสุโขทัยได้แล้ว เข้าตีสุโขทัยจากขอมสบาดโขลญลำพง เมื่อราวปี 1781 ถึง 1792 แล้วอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "ศรีอินทราทิตย์" (นิยะดา, อ้างแล้ว, น.300 และ 467ฉ

เมื่อแรกตั้งกรุงสุโขทัยนั้นอาณาเขตยังคับแคบเพียงเมืองเชลียง เมืองแพร่ทางใต้คงลงมาถึงเมืองพระบางที่ปากน้ำโพ ทางตะวันตกเฉียงเหนือเพียงเมืองตาก ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ไม่ยอมอยู่ในอำนาจจึงยกทัพมาตีเมืองตาก กองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสียท่าแต่พระโอรสองค์น้อย เข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงแตกพ่ายไป ต่อมาพ่อขุนบานเมืองเสวยราชย์ต่อจาพระบิดาจนสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 1822 พ่อขุนรามคำแหง (รามราช) ได้ครองราชย์ต่อมาจนถึงปี 1841

พ่อขุนรามคำแหงได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปกว้างขวางดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่าทางทิศตะวันออกได้เมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ถึงฝั่งโขง เวียงจันทน์ เวียงคำ ทิศใต้ได้ได้คณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช จนสุดฝั่งทะเล ทิศตะวันตกได้เมืองฉอด หงสาวดีถึงฝั่งมหาสมุทร ทิศเหนือได้เมืองแพร่เมืองน่าน เมืองพลั่ว (ปั่ว) เลยฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) (ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หลักที่ 1,2467, น.57-58)


หลังรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงตั้งแต่รัชสมัยพระยาเลอไทย พระยางั่วนำถุม (งั่ว = ลูกคนที่ห้า, นำถุม = น้ำท่วม) พระเจ้าลิไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 1) พระมหาธรรมราชาที่ 2 ที่ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1911-42 นั้นปรากฏว่าเคยต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอยู่สิบปีระหว่าง พ.ศ. 1921-31 แต่รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย, พ.ศ. 1942-1962) กลับเข้มแข็งขึ้นแต่เมื่อสวรรคตเกิดชิงราชสมบัติ สมเด็จพระนครินทราธิราชต้องทรงขึ้นไปห้ามปรามและทรงตั้งพญาบรมปาล เป็นเจ้าเมืองขึ้นต่ออยุธยาจนสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1981 จึงสิ้นราชวงศ์พระร่วง (นิยะดา, อ้างแล้ว, น.300-304)

ระบอบการปกครองสมัยสุโขทัย

โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า ระบอบการปกครองประเทศได้เปลี่ยนจากระบอบนครรัฐ หรือ แว่นแคว้นขนาดเล็กเป็นอิสระต่อกัน เป็นพันธมิตรและศัตรูกันเป็นครั้งคราว มาสู่ระบอบอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้น มีประชากรมากขึ้น ซึ่งทำให้การจัดการปกครองมีความยุ่งยากมีการบังคับบัญชาลดหลั่นกันมากขึ้น


ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและประชาชนก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ขั้นตอน คือ ในตอนต้นของระบอบบนนครรัฐ ความสัมพันธ์เป็นแบบปิตาธิปไตย คือ แบบพ่อกับลูก แต่ในสมัยสุโขทัยเริ่มเปลี่ยนมาสู่รูปแบบที่สอง คือ ปิตุราชาธิปไตย คือ แบบพ่อกับลูก แต่ในสมัยสุโขทัยเริ่มภาพจะทรงเรียกว่า เป็นแบบบิดาครองบุตร (Paternal Government) (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2470, น.9) แต่น่าจะเป็นแบบปิตุราชาธิปไตยมากกว่า เพราะพระราชาเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แม้จะปกครองราษฎรเหมือนบิดา (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2527, น.31) อนึ่งพึงสังเกตว่าการปกครองสมัยสุโขทัย พระราชามหากษัตริย์เริ่มมีฐานะเป็นหลวง พระโอรส และ นัดดามีฐานะเป็นลูกหลวง หลานหลวง (หลายแห่งเรียกว่า พญา (พระยา) และปู่พญา)

ความสัมพันธ์นี้ต่อมาถึงรัชกาลที่ 6 คือ พญาลิไท (เสวยราชย์ พ.ศ. 1890) ก็ทรงเฉลิมพระนามว่า พระมหาธรรมราชา (นับเป็นพระองค์แรก) ซึ่งทำให้เห็นว่าได้แยกพ่อขุนมาเป็นพระราชาเพียงแต่ยังเป็นมนุษย์ (ไม่เป็นเทพ) ที่ปกครองโดยใช้หลักธรรมะของพระศาสนาเป็นหลัก (ถ้าดุจากพระนามจะเห็นว่านามพ่อขุนบางกลางหาว จะเป็นความเป็นมนุษย์มากกว่านามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเริ่มจะเป็นเทวดาตามชื่อที่ได้ดัดแปลงมาจากตำแหน่งของพ่อขุนผาเมืองที่กษัตริย์เขมรทรงแต่งตั้งให้)

อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาจากหลักการปกครองตามที่จารึกไว้ในหลักที่ 1 จะเห็นว่า เป็นการปกครองตามลัทธิประชาธิปไตยมาก ดังจะได้กล่าวต่อไป


ลักษณะการปกครองอาณาจักรสุโขทัย

การปกครองอาณาจักรสุโขทัย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าถือเอาการป้องกันบ้านเมืองเป็นหลัก จึงวางระเบียบเป็นอย่างทหาร พลเมืองที่เป็นชายนับเป็นทหารทุกคนเจ้านาย ขุนนางทำหน้าที่ควบคุมทหารเหล่านั้นตามลำดับ เวลาว่างศึกสงครามก็บังคับบัญชาอย่างพลเรือน เวลาเกิดศึกสงครามก็บังคับบัญชากันอย่างทหารเจ้าเมืองต่างๆ ก็เกณฑ์พลเมืองของตนมาเข้ามาเป็นกองทัพสมทบกับทัพหลวง สำหรับหัวเมืองขึ้นในรายรอบราชธานีจะรวมกันเป็นกองทัพหลวงส่วนเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองอุปราช ทำหน้าที่กองทัพหน้า

       1.เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ซึ่งโดยปกติจะมีอยู่ 4 ทิศล้อมลอบราชธานี แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป หน้าที่สำคัญของเมืองลูกหลวง คือเป็นการแบ่งเมืองและตำแหน่งให้เชื้อพระวงศ์เป็นการฝึกการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินและทำหน้าที่เป็นด้านกั้นภัยจากอริราชศัตรู แต่ขณะเดียวกันอันตรายก็มีอยู่ซึ่งได้แก่การที่ผู้ครองเมืองลูกหลวงอาจกยทัพเข้าราชธานีหรือเมืองหลวงเพื่อแบ่งราชสมบัติเมื่อกษัตริย์เสด็จสวรรคต
       เมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัยมีดังนี้ ทิศเหนือคือเมืองศรีสัชนาลัย ทิศตะวันออกคือเมือง สองแคว(ปัจจุบัน คือเมืองพิษณุโลก) ทิศตะวันตก คือเมืองนครชุม ทิศใต้คือเมืองสระหลวง

       2.เมืองท้าวพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่ในขอบริมรอบนอก เจ้าเมืองเป็นราชวงค์ของเจ้าเมืองเดิมมีอำนาจในการปกครองบริหารตามปกติเกือบสมบูรณ์แต่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจและการบังคับบัญชาของสุโขทัย เมืองท้าวพระยามหานครคือเมืองที่ถูกผนวกเข้ามาในเครือข่ายอำนาจของราชธานี เช่นหลวงพระบาง เชียงทอง เป็นต้น

       3. เมืองออกหรือเมืองขึ้น คือเมืองที่สุโขทัยยกทัพไปตีได้โดยให้อยู่ในอำนาจ เช่น นครศรีธรรมราช เวียงจันทร์ หงสาวดี (มอญ) เป็นต้น
    ในการปกครองของแต่ละเมืองนั้น ก็มีรูปแบบทั่วไปในสังคมเกษตรกรรมซึ่งมักแบ่งออกเป็น 3 หน่วย คือ หมู่บ้าน ตำบล เมือง



หลักการปกครองแบบปิตุราชาประชาธิปไตย


        การปกครองของสุโขทัยที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกที่ 1 ซึ่งจารึกเมื่อ พ.ศ. 1835 (หลังจากที่พ่อขุนรามคำแห่งได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยเมื่อ พ.ศ. 1826) ได้อธิบายวิธีปกครองไว้เป็นแบบประชาธิปไตยมากเทียบเคียงได้กับมหากฎบัตร (Magna Carta) ของอังกฤษซึ่งพระเจ้าจอห์นถูกขุนนางบังคับให้จำกัดพระราชอำนาจเมื่อ ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลาจารึก 1835 นี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสยาม หลักการสำคัญที่จารึกไว้มีดังนี้

ให้เสรีภาพในทาง (ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า...)

ไม่เก็บภาษีจังกอบ (เจ้าเมืองบ่อาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง...)

ทรัพย์สินของผู้ตายให้เป็นมรดกถึงลูกได้ (ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มหายตายกว่า เหย้าเรือน... เสื้อค้ำ... ช้างลุกเมียเยียข้าว... ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น)

ประกันความยุติธรรมเมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการสอบสวนจนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม (ลูกเจ้าลูกขุนผิแลผิดแผกแสกกว้างกัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน...)

ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแก่ผู้มาอยู่ในบ้านเมือง ให้ตั้งตัวได้ (คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้มันบ่มีช้างบ่มีม้าบ่มีปั่วมีนางบ่มีเงื่อนบ่มีทองให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง)

ข้าศึกแม่ทัพนายกองจับได้ก็ไม่ฆ่าตี (ได้ข้าเสือก ข้าเสือหัวพุ่งหัวรบก็ดีบ่ฆ่าบ่ตี)

ประชาชนเดือนร้อนให้มาสั่นกระดิ่ง ให้พ่อขุนรามคำแหงได้ยินจะออกมาสอบสวนตัดสินโดยยุติธรรม (ไพร่ฟ้าหน้าปก...มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ...บ่ไร้ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ)

ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (...หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน)

ส่งเสริมให้พลเมืองถือศิลอวยทาน (คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศิล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน...ทั้งผู้ชายผู้หญิง...มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา)

ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองโดยเปิดเผยบนพระแท่นในวันธรรมดา หลังจากที่พระสอนธรรมในวันโกนวันพระ (ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยขึ้นั่งเหนือขดานหินให้ฝูงท่วยลูเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมืองคัล)




ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยรู้บุญรู้ธรรม จึงมีความฉลาด กล้าหาญ ขยันขันแข็ง ปราบฝูงข้าศึกได้ เมืองจึงกว้างขวาง (เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี... (พ.ศ. 1826) พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ในในในแลใส่ลายเสือไทยนี้...หาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญ รู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วยรู้ด้วยหลวกด้วยแกล้วด้วยหาญด้วยแคะด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้อานปราบฝูงข้าเสิกมีเมืองกว้างช้างหลาย)


ทรงปราบปรามบ้านเมืองต่างๆ ทุกทิศแต่ก็จะทรงเลี้ยงลูกบ้านลูกเมืองนั้นด้วยชอบด้วยธรรมทุกคน (หลังจากล่าวถึงเมืองต่างๆ ที่ไปปราบมาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 ก็จบลงด้วยข้อความว่า "...ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน")


**(ข้อสังเกต ความในวงเล็บเป็นคำอ่านปัจจุบันจากหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 ของคณะกรรมการพิจารณา และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521, น.18-26. อนึ่งโปรดสังเกตว่าในศิลาจารึกหลักที่ 1 จากบรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องที่พ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์เองใช้คำว่า "กู" ตลอดแต่หลังจากนั้นใช้คำว่า "พ่อขุนรามคำแหง" จึงเป็นเรื่องที่ผู้อื่นเขียน)

สมเด็จกรมพรยาดำรงค์ฯ เห็นว่าสมัยสุโขทัยไม่มีทาสกรรมกรมามีทาสเมื่อใช้ประเพณีของในบรรดาชาวไทยทางใต้ (ดู สมเด็จกรมพระยาดำรง, 2470, น.12) ข้อสันนิษฐานนี้เสอดคล้องกับความในศิลาจารึก สรุปข้อ 6 และ 12 ที่ว่าไม่ได้ฆ่าตีข้าศึกที่เข้ามาสวามิภักดิ์ และทรงปกครองเมืองต่างๆ ที่ปราบมาอย่างเป็นธรรม แสดงว่าไม่มีทาส อย่างมากก็มีเพียงทาสเชลย




หลักการปกครองธรรมราชา หรือแบบธรรมาธิปไตย


หลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงได้นครศรีธรรมราชไว้ในอำนาจก็ได้มีการนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาแผลแพร่มากขึ้นเป็นผลให้แนวความคิดในการปกครองเปลี่ยนจากปิตุราชาธิปไตยมาเป็นแบบธรรมราชาธิปไตยยิ่งขึ้น พระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่ พ.ศ. 1890 ก็เริ่มใช้พระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 ถึงที่ 4 อันเป็นสมัยที่ขึ้นแก่อยุธยา และจบราชวงศ์พระร่วงเมื่อ พ.ศ. 1981

หลักการของระบอบธรรมราชาธิปไตย คือ ความเชื่อว่าพระราชอำนาจของกษัตริยจะต้องถูกกำกับด้วยหลักธรรมะประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์จึงเรียกว่าสวรรคต ธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตร คือ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ และมีหลักการปกครองปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ที่พระมมหาจักรพรรดิราชจะใช้สั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลายให้ปฏิบัติตามอีกมาก (ภารดี, อ้างแล้ว, น.2-4)

เป็นที่น่าสังเกตว่าธรรมราชธิปไตย น่าจะทำให้ประเทศชาติมั่นคงกว่า ราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่การไม่พยายามออกไปสู้รบแผ่ขยายอาณาเขต หรือไม่บำรุงกำลังรบให้เข้มแข็งเพื่อป้องกันประเทศอาจทำให้อ่อนแอลง ดังปรากฏในปลายราชวงศ์พระร่วง หรืออย่างสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์ และพระเจ้าอุทุมพรแห่งอยุธยา หรือประเทศธิเบตที่ถือนิกายวัชรญาณเคร่งครัด แต่ถ้าวิเคราะห์อย่างละเอียดอาจจะพบว่าเป็นเพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ใช้หลักธรรมให้ครบถ้วน และเป็นเพราะลูกหลาน และขุนนางแย่งชิงราชสมบัติฆ่าฟันกันเอง จนอ่อนแอต่างหาก





- - - - - - - - - - - - - - - - - - -


นางสาว ทัตพิชา เทวัน ม.4/2 เลขที่ 33